สาเหตุที่ไม่ทราบก็เพราะว่า ผมก็ไม่เคยลองใช้ os. ครบทุกตัว คนอื่นๆ ที่ทดลองใช้เค้าทดลองในสิ่งที่เราต้องใช้หรือป่าวก็ไม่ทราบ หลักการง่ายๆ ในการเลือก os. ของผมก็คือ
- ต้องดูว่า application ที่เราต้องใช้ จำเป็นต้องรันบน os. ใดเป็นพิเศษหรือไม่ ถ้าจำเป็น โอกาสในการเลือกของเราก็น้อยลงหรือแทบไม่มีเลย แต่ถ้าเป็น gereral application เช่น พวก web server หรือ java application ก็ยังพอเลือกได้ ดูข้อต่อไปเลย
- ถ้า application ที่ต้องการใช้ไม่ได้เลือกมากอะไร ยกตัวอย่างเช่น ต้องการ web server ที่รัน php ได้ ผมก็จะเลือกโดยใช้หลักการง่ายๆ คือ "เลือก os. ที่เรารู้จักและใช้งานคล่องที่สุด" และขอแนะนำหลักการนี้ให้ทุกคนนำไปใช้ได้จริง
เหตุผลง่ายๆ ที่ต้องเลือก os. ที่รู้จักและใช้งานคล่องที่สุดคือ
- เราสามารถควบคุมทุกอย่างได้ เช่น ถ้าเป็น linux distro ที่ถนัด เราจะรู้ว่า file configuration หลักๆ อยู่ที่ใหน ถ้าจะแก้ไขให้รองรับ scale ที่ใหญ่ขึ้นจะต้องแก้อย่างไร ลองนึกดูว่า คุณต้องแก้ไข tcp buffer size ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่มากใน os. ที่ไม่ถนัด คุณจะใช้เวลานานแค่ใหน
- เวลาที่ระบบมีปัญหา ไม่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ การ troubleshoot os. ที่เราถนัดถือว่าเป็นงานที่ไม่หนักมาก
ตอนนี้อย่าเพิ่งไปนึกถึงว่า os. นี้มีข้อเสีย แพ้ตัวโน้นเรื่อง blah blah blah เพราะที่เคยพบมา ปัญหามักจะเกิดจากการ config ของเรา หรือ coding ที่เขียนไว้ไม่ดีพอเสียมากกว่า บางครั้งมันยังไม่ถึง limitation ที่ os. มีด้วยซ้ำไป อีกอย่างหนึ่ง os. ทุกตัวจะมีค่า default setting ซึ่งถ้าคุณรู้จัก os. ตัวนั้นดีจริงๆ คุณจะรู้ว่า os. ที่ใช้อยู่ยังสามารถ customize ให้เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยได้มากกว่าที่ทราบเยอะมาก
No comments:
Post a Comment